เรื่องง่ายๆ ที่พนักงานควรรู้เกี่ยวกับ กฎหมาย วันหยุด !

นี่ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จำเป็นต้องเอาไว้.. !! สำหรับเด็กจบใหม่ที่กำลังจะก้าวสู่อีกหนึ่งช่วงของชีวิตที่กินเวลานาน… นั่นคือช่วงของวัยทำงาน เรามารู้จักกับสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการจ้างงานก่อนเข้าสู่สนามจริงกันค่ะ !!

กฎหมายแรงงาน วันหยุด

     วันลาและสิทธิการลาตามกฎหมาย ประกอบด้วย
  • ลาพักร้อน : ลาได้ไม่น้อยกว่า ปีละ 6 วัน ให้แก่ลูกจ้างทีทำงานมานานเกิน 1ปี สามารถยกยอดหรือสะสมไปปีอื่นๆได้
  • ลาป่วย : ลาป่วยได้ตามจริง โดยได้รับค่าจ้างไม่เกิน 30 วัน และหากลาติดต่อกัน 3 วันขึ้นไปต้องมีใบรับรองแพทย์
  • ลากิจ : ลาโดยมีเหตุธุระจำเป็นได้ไม่น้อยกว่า 3 วันต่อปี โดยมีสิทธิได้รับค่าจ้างตามปกติไม่เกิน 3 วันต่อปี
  • ลาคลอด : และลาตรวจครรภ์ก่อนคลอดได้รวม 98 วัน โดยได้รับค่าจ้างไม่เกิน 45 วัน
  • ลาทำหมัน : โดยต้องมีใบรับรองให้หยุดงานจากแพทย์แผนปัจจุบัน สามารถหยุดได้ตามแพทย์สั่ง และยังได้รับค่าจ้าง
  • ลารับราชการทหาร : ลาได้เท่ากับจำนวนวันที่ทางการทหารเรียก และได้รับค่าจ้างตลอดเวลาที่ลาแต่ไม่เกิน 60 วันต่อปี
  • ลาฝึกอบรม : ลาได้โดยไม่ได้รับค่าจ้างในวันนั้น

* ทั้งนี้ จากที่กล่าวจากข้างต้น จำนวนวันหยุดอาจแตกต่างกันไปตามนโยบาลของบริษัทนั้นๆ แต่ตามกฎหมายแล้วจะต้องไม่ต่ำกว่าที่กำหนด *

ซึ่งวันหยุดของชาวออฟฟิศ ผู้ประกอบการ หรือหัวหน้างานหลาย ๆ คนก็คงต้องเซ็นรับทราบวันหยุดของพนักงานหลาย ๆ คน ขัดใจบ้าง ปล่อยผ่านบ้าง แต่จะทราบได้อย่างไรว่าวันลาพัก ลาหยุดนั้นถูกต้องตามกฎหมายแรงงาน แบบที่จะสบายใจทั้ง 2 ฝ่าย ฉะนั้นเรามาศึกษาสิทธิตามกฎหมายแรงงาน ในเรื่องของวันหยุดวันลาพักกันดีกว่าค่ะ โดยในทางกฎหมายได้กำหนดไว้ ดังนี้

เวลาทำงาน

– ไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน และไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ งานอันตรายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

– ไม่เกิน 7 ชั่วโมงต่อวัน และไม่เกิน 42 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

เวลาพัก

– ในวันที่มีการทำงานให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักติดต่อกันไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง ภายใน 5 ชั่วโมงแรกของการทำงาน

– นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้าให้มีเวลาพักน้อยกว่าครั้งละ 1 ชั่วโมง ก็ได้แต่ต้องไม่น้อยกว่าครั้งละ 20 นาทีและเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง

– กรณี งานในหน้าที่มีลักษณะต้องทำติดต่อกันไป หรือเป็นงานฉุกเฉินโดยจะหยุดเสียมิได้ นายจ้างจะไม่จัดเวลาพักให้ลูกจ้างก็ได้ แต่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง

วันหยุดประจำสัปดาห์

– ต้องไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 วัน โดยมีระยะห่างกันไม่เกิน 6 วัน

– ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์ (ยกเว้นลูกจ้างรายวัน รายชั่วโมง หรือตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย)

– นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้า กำหนดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์วันใดก็ได้

 

วันหยุดตามประเพณี

– ต้อง ไม่น้อยกว่าปีละ 13 วัน โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติด้วย ถ้าวันหยุด ตามประเพณีตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ ให้หยุดชดเชยในวันทำงานถัดไป

– ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในวันหยุดตามประเพณี

 

วันหยุดพักผ่อนประจำปี

– ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาครบ 1 ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีไม่น้อยกว่าปีละ 6 วันทำงาน

– ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปี

– ถ้าลูกจ้างที่ทำงานยังไม่ครบ 1 ปี จะให้หยุดตามส่วนก็ได้

 

การลาเพื่อฝึกอบรม

– ลูกจ้าง มีสิทธิ์ลาเพื่อการฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ความสามารถตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงฯ โดยไม่ได้รับค่าจ้างในวันลานั้น

วันหยุดประจำสัปดาห์

  • กรณีทั่วไป กำหนดให้ต้องมีวันหยุดประจำสัปดาห์ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 วัน ระยะห่างกันไม่เกิน 6 วัน โดยยังได้รับค่าจ้างอยู่ (ไม่รวมลูกจ้างรายวันและรายชั่วโมง)
  • กรณีลูกจ้างในกิจการที่วันหยุดไม่แน่นอน เช่น งานโรงแรม งานในป่า งานขนส่ง งานในที่ทุรกันดาร เช่น งานประมง งานดับเพลิง สามารถตกลงวันหยุดกับเจ้านายได้ และสามารถสะสมวันหยุดและเลื่อนวันหยุดไปใช้ตอนไหนก็ได้ภายในระยะเวลา 4 สัปดาห์ติดต่อกัน

การทำงานล่วงเวลา

  • ล่วงเวลาในวันธรรมดา ต้องมีการจ่ายค่าล่วงเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง ตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ
  • ล่วงเวลาในวันหยุด ต้องมีการจ่ายค่าล่วงเวลา 3 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง ตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ
  • ทำงานเวลาปกติในวันหยุด ต้องมีการจ่ายค่าล่วงเวลาเพิ่มอีก 1 เท่าของค่าจ้างปกติ

  * ทั้งนี้ การทำงานล่วงเวลาต้องรวมกันไม่เกิน 36 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ *

จากบทความข้างต้นนั้นเป็นหลักเกณฑ์ในการกำหนดวันหยุด วันลาในองค์กร ก็น่าจะเพียงพอในระดับที่ทั้งพนักงาน

และผู้ประกอบการพึงพอใจ และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เป็นการหยุดยาวที่ไร้ความกังวลใด ๆ

ขอขอบคุณบทความจาก :

https://www.posttoday.com/life/work-life-balance/597472

https://www.prosoft.co.th/Article/Detail/119072

รูปภาพจาก unsplash.com