OKRs คืออะไร และจะใช้อย่างไรให้เติบโตในปี 2022

บริษัทต่างๆ เช่น Microsoft,Google,Netflix,Uber,Twitter และ LinkedIn ใช้วิธีการที่เรียบง่ายแต่มีประสิทธิภาพ เรียกว่ากรอบงาน Objective Key Results (OKRs) และสามารถใช้ได้ทั้งกับ บุคคล ทีม และองค์กรเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมาย
หลายๆท่านคงสงสัยว่า OKRs คืออะไร? ในบทความนี้เราจะเล่าให้เข้าใจง่ายๆ
OKRs ย่อมาจาก Objective Key Results

เป็นระบบงานที่ถือกำเนิดครั้งแรกใน บริษัท Intel ยักษ์ใหญ่แห่งวงการ Microchip ในอเมริกา จากนั้นได้นำมาใช้กับ Start up เล็กๆ ที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด นั้นคือ Start up ที่มีชื่อว่า Google นี่คือสาเหตุให้ OKRs เริ่มเป็นที่รู้จักและถูกให้ความสนใจมากขึ้นจนบริษัทชั้นนำทั่วโลกนำไปใช้กันอย่างแพร่หลายและประสบความสำเร็จ

O=Objective ในที่นี้หมายถึง เป้าประสงค์ หรือเป้าหมาย ของตัวเราองค์กร หรือทีมงาน เป็นความต้องการ เรียกว่า อยากได้อะไรก็บอกมาให้ชัดเจน เช่นทีมขายต้องการยอดขาย องค์กรต้องการกำไร ต้องการพัฒนาระบบ ต้องการพัฒนาพนักงาน ต้องการสินค้าใหม่ๆ ต้องการสร้างความพอใจให้ลูกค้า ฯลฯ เป็นต้น

KR=Key Results หมายถึง ผลลัพธ์ที่เป็นสาระสำคัญ 3-5 เรื่อง ที่บ่งบอกความก้าวหน้าปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ ที่สำคัญต้องเข้าใจก่อนว่า

“Key Results ไม่ใช่กิจกรรมที่ต้องทำ ไม่ใช่กระบวนการทำงาน ไม่ใช่ตัว Do list”  
แต่ Key Results ที่ดีต้องมี
  • การวัดผลตัวเลขที่ชัดเจน
  • มีกรอบเวลาที่ชัดเจน

ง่ายๆคือทุกอย่างต้องถูกตีกรอบด้วยตัวเลขที่ชัดเจนนั้นเอง

ตัวอย่าง

OKRs โรงงานผลิตสินค้าอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งต้องการขายสินค้าผ่าน เว็บไซต์

Objective คือต้องการขายของผ่านช่องทางเว็บไซต์

เมื่อได้ความต้องการ จากนั้นก็สร้าง Key Result ขึ้นมาโดยกำหนดตัวเลขผลและกรอบเวลาที่ชัดเจนเช่น

KR1=ต้องมีเว็บไซต์ กำหนดเวลาการทำให้เสร็จ 31 พ.ค. 65

KR2=เว็บไซต์ต้องติด Top5 ของการค้นหาภายใน 30 มิ.ย.65

KR3=มีกลุ่มเป้าหมายเข้ามาชมเว็บไซต์อย่างน้อย 1000 ครั้ง/เดือน

KR4=ต้องมีการสั่งซื้ออย่างน้อย 10 คำสั่ง/เดือน (มีคนเข้ามา1000คนต้องมีคนสั่ง 10 คน Conversion Rate คือ1%)

KR5=มียอดขายอย่างน้อย 300,000 บาท/เดือน ตั้งแต่เดือน ก.ย.65

จะเห็นว่าการกำหนดเงื่อนไขจะเป็นขั้นเป็นตอน

  • เริ่มจากจะขายผ่านเว็บไซต์ก็ต้องมีเว็บไซต์ และต้องทำเสร็จเมื่อไหร่
  • ต้องPromote ให้ติดบนการค้นหาลำดับที่ต้องการ ในเวลาที่กำหนด
  • ตั้งปริมาณกลุ่มเป้าหมายเข้ามาค้นหาเยี่ยมชมอย่างน้อยกี่คน/เดือน
  • ตั้งเป้าการสั่งสินค้าเข้ามาอย่างน้อยกี่คน/เดือน Conversion Rate
  • กำหนดยอดขายที่ต้องการ/เดือน ภายในระยะเวลาที่กำหนด

การติดตามและให้คะแนน OKRs นี้สามารถวัดได้จาก การทำงานได้เสร็จตามกรอบเวลาที่กำหนดหรือไม่ และบรรลุถึงยอดตัวเลขเป้าหมายที่ตั้งไว้ในช่วงเวลาที่กำหนดหรือไม่

จากตัวอย่างจะพอสรุปจุดเด่นของ OKRs ได้ดังนี้
  • เป็นแนวคิดที่เรียบง่ายในการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน
  • Focus เรื่องสำคัญ 3-5 เรื่องเพื่อสร้างผลลัพธ์ทวีคูณ
  • OKRs คือการออกแบบมาเพื่อเน้นการวัดผลลัพธ์ และเน้นประสิทธิผล ถ้าผลลัพธ์ที่ออกมานั้นยังห่างไกลกับเป้าหมายที่ต้องการ เราสามารถกลับมาแก้ไข ปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานได้ โดยต้องยึดผลลัพธ์ที่ต้องการเอาไว้
ประโยชน์ของการใช้กรอบงานแบบ OKRs สามารถสรุปได้ด้วยคำย่อ FACTS โดยที่
  • F ย่อมาจาก Focus -OKRs ช่วยสร้างเป้าหมายที่ชัดเจน ทำให้สามารถจัดสรรเวลา และทุ่มพลังไปได้ตรงจุด เพื่อบรรลุความสำเร็จ
  • A ย่อมาจาก AlignmentOKRs เป็นวิธีที่จะทำให้ทุกคนทำงานตามลำดับความสำคัญที่เหมือนกัน
  • C ย่อมาจาก Commitment -OKRs เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดความมุ่งมั่นร่วมกันเพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวกัน
  • T ย่อมาจาก Tracking -OKRs ช่วยให้สามารถติดตามความคืบหน้าและปรับเปลี่ยนได้ตามต้องการ
  • S ย่อมาจาก Stretching -OKRs สร้างแรงบันดาลใจ และให้พลัง ในการออกจาก Comfort Zone ของแต่ละคน และก้าวสู่ความสำเร็จที่มากขึ้น

สุดท้ายนี้การปรับและนำแนวคิดแบบ OKRs เพื่อนำไปใช้กับองค์กรในปี 2022 นั้น องค์กรเองอาจตั้งเป้าหมายใหญ่ๆที่ต้องการสักไม่เกิน 5 เป้าหมายใหญ่ๆ เพื่อให้คนในองค์กรหรือทีมงานรับรู้ว่าองค์กรต้องการอะไร และมีทิศทางเป็นอย่างไร  พูดง่ายๆ คือถ้าเราโฟกัสไปทุกเรื่อง ให้ความสำคัญไปทุกเรื่อง เยอะแยะมากมาย อาจหมายความได้ว่าไม่มีการโฟกัสจริงๆ แสดงให้เห็นความสับสนของผู้บริหาร สุดท้ายเมื่อไม่มีความชัดเจนพนักงานก็จะสับสนไปด้วยเช่นกัน

“โดยธรรมชาติแล้ว เมื่อเรารู้ว่าเราต้องการอะไร แล้วอะไรคือปัจจัยที่เป็นสิ่งสำคัญมีผลต่อความสำเร็จ  โอกาสที่จะประสบความสำเร็จสูงก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ไม่ยากเช่นกัน”

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก

Power wits โดย คุณ ภูดิศ อาสนมณี

https://www.youtube.com/watch?v=ait6GPPbJNE

https://textexpander.com/

https://www.pexels.com/th-th/photo/842567/